วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การจับคอร์ดทาบ (Bar Chord)

      การจับคอร์ดทาบนั้นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆแล้ว จะรู้สึกว่าจับยากมากทั้งเจ็บนิ้วไม่มีแรงกด เสียงบอด แต่การจับคอร์ดทาบนั้นมีเทคนิคอยู่นิดเดียว คือ การหักข้อมือลงด้านล่าง แล้วใช้นิ้วโป้งประคองตรงกลางหลังคอกีต้าร์ไว้ แทนการใช้นิ้วโป้งกำคอกีต้าร์แบบการจับคอร์ดธรรมดา แบบนี้จะเป็นการจับที่ถูกวิธี และช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้นทำให้เสียงไม่บอด ส่วนนิ้วที่ใช้กดสายก็พยายามให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับสายมากที่สุดไม่ให้ไปโดนสายอื่นเพราะจะทำให้เสียงบอดได้ 


ลักษณะพิเศษของ คอร์ดทาบ หรือ (Bar Chord)


       ลักษณะพิเศษของคอร์ดทาบ ก็คือ คุณสามารถ เลื่อนคอร์ดในลักษณะการจับที่ยังเหมือนเดิม ถอยหลังเข้าหาตัว หรือ เลื่อนไปด้านหน้า แล้วคอร์ดจะเปลี่ยนไปเป็นอีกคอร์ดหนึ่งโดยที่รูปแบบการจับยังเหมือนเดิม โดยมีหลักอยู่ว่า ถ้าเลื่อนถอยเข้าหาตัว 1 ช่อง (เสียงสูงขึ้น) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( # )เช่นคุณจับคอร์ด F แล้วเลื่อนเข้าหาตัว 1 ช่อง คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น F# ถ้า 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด G ในทางตรงกันข้าม ถ้าเลื่อนไปด้านหน้าออกห่างตัว 1 ช่อง (เสียงต่ำลง) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( b ) เช่นคุณจับคอร์ด B แล้วเลื่อนออกห่างตัว 1 ช่อง คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น Bb ถ้าเลื่อนไป 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด A สายเปิด คือไม่ต้องใช้นิ้วชี้ทาบ เพราะตำแหน่งที่ต้องทาบเป็นสะพานรองสาย (Nut) พอดี  ส่วนการเลื่อนคอร์ดว่าเลื่อนกี่ช่องแล้วจะเปลี่ยนเป็นคอร์ดอะไรจะใช้หลักของ Major Scale คือ คอร์ด E กับ F และคอร์ด B กับ C ห่างกัน 1 ช่อง (ครึ่งเสียง) ส่วนคอร์ดอื่น A กับ B , D กับ E , F กับ G ห่างกัน 2 ช่อง (หนึ่งเสียงเต็ม)


การจับปิคกีต้าร์

        ปิคกีต้าร์นั้นมีหลายแบบหลายรูปทรง แต่ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปก็คือ ปิคแบน (flat pick) ที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ทรงคือ รูป 3 เหลี่ยม แล้วก็ รูปหยดน้ำ มีให้เลือกตามขนาดความหนาของปิค ตั้งแต่ บาง , ปานกลาง และ หนา ส่วนจะเลือกใช้ขนาดไหน ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ในการเล่นตีคอร์ดนั้นแนะนำให้ใช้ปิคแบบบาง เพราะจะเกิดแรงต้านกับสายน้อยเล่นแล้วจะรู้สึกพริ้วไหวไม่สะดุด ส่วนการเล่น Solo นั้นใช้ได้ทุกขนาดขึ้นอยู่กับความชอบความถนัดของแต่ละคน

       การจับปิคนั้นให้วางปิคลงด้านบนสันของปลายนิ้วชี้ นิ้วชี้อยู่ในลักษณะงอเข้าหาปลายนิ้วโป้ง แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับตัวปิค การจับไม่ได้จับจนแน่นมากให้จับพอกระชับไม่ให้หลุด ปลายปิคเลยออกมาจากนิ้วประมาณ 3-4 มิล ไม่สั้นหรือยาวออกมามากจนเกินไป ปิคต้องอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับสายหรือเกือบจะตั้งฉากกับสาย และเอียงตัวปิคประมาณ 45 องศา เพื่อลดแรงประทะกับสายในขณะดีด ทำให้ดีดได้คล่องและไม่รู้สึกติดขัด
                                                                                                   3.

                                                                                              2.
โครงสร้างของคอร์ด
      ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้างของคอร์ด เรามาทำความรู้จักกับ Major Scal “เมเจอร์สเกลกันก่อน
      เมเจอร์ สเกล นั้นถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ ทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักพื้นฐานโครงสร้างมาจากเมเจอร์สเกลเสมอ ดังนั้น เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆทั้งหมด รวมถึงการสร้างคอร์ดอีกด้วย โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ
โน้ตตัวที่ [ 3 กับ 4 ] และ [ 7 กับ 8 ] จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(ดูโครงสร้างของเมเจอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของเมเจอร์สเกล
คอร์ดที่จับได้ไม่ยากมากเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเล่น
คอร์ดทาง Minor เช่นคอร์ด Am, Em, Fm, Gm สังเกตว่าจะมีตัวเอ็มเล็ก “m” ต่อท้าย ซึ่งก็แทนคำว่า “Minor” นั้นเอง เช่นคอร์ด Em ก็จะอ่านว่า อีไมเนอร์”, คอร์ด Am ก็จะอ่านว่า เอไมเนอร์ดังนี้เป็นต้น
      Tip1: การที่จะสังเกตว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์นั้น ให้ดูว่ามีตัว m (เอ็มเล็ก) ต่อจากชื่อคอร์ดหลักหรือไม่ ตัวอย่างเช่นคอร์ด Cm7,C#m7 มีก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางไมเนอร์, คอร์ด C7,Csus4 ไม่มี m (เอ็มเล็ก) ก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ รู้แล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ละ? ดู tip2 ต่อครับ
      Tip2: การเล่นคอร์ดในเพลงจริงๆนั้น บางเพลงอาจจะมีคอร์ดที่จับอยาก หรือเราไม่เคยจับมาก่อน ไม่รู้ว่าจะต้องจับคอร์ดนั้นยังไง เราก็จับคอร์ดหลักแทน เช่น คอร์ด Cadd9 เราก็จับ คอร์ด C แทน, คอร์ด Bm9 ก็จับคอร์ด Bm แทน (บางท่านอาจจะ งง ว่าทำไมคอร์ด Bm9 ถึงไม่จับคอร์ด B แทนละ ทำไมถึงเป็น Bm ก็เพราะว่าคอร์ด Bm9 เป็นคอร์ดทางไมเนอร์นั้นเอง(สังเกตโดย tip1ที่ผ่านมา) การจะใช้คอร์ดหลักแทนนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องนะครับ ต้องรู้ว่าคอร์ดที่เราจะจับแทนนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์ เพราะว่าอารมณ์ของเสียงเมเจอร์กับไมเนอร์นั้นแตกต่างกันมากเลยทีเดียว)

      ปล. Tip2 นี้แนะนำให้ใช้กับคนที่กำลังหัดเล่นหรือว่ายังจับคอร์ดที่ยากๆแปลกๆไม่ได้เท่านั้น ทางที่ดีควรจะจับให้ถูกต้องตามคอร์ดของเพลง จะได้เข้าถึงอารมณ์ของเพลงตามที่ผู้แต่งได้ถ่ายทอดไว้ในบทเพลงนั้นๆ และบางคอร์ดนั้นก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่สามารถที่จะแทนได้ด้วยคอร์ดหลัก.
การจับคอร์ดกีตาร์
     การจับคอร์ดนั้นให้นั่งในท่าที่ถนัด ใช้มือกำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ ถ้าเป็นการจับคอร์ดที่ไม่ใช้คอร์ดทาบ จะใช้นิ้วโป้งประคอง ด้านหลังคอกีต้าร์เพื่อให้กระชับมั่นคงและช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้น การจับสายนั้นจะต้องโก่งนิ้วที่จับสายอยู่ พยายามให้ปลายนิ้วที่กดสายตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ด มากที่สุด เพราะถ้านิ้วราบไปกับคอกีต้าร์จะทำให้โดนสายอื่นทำให้เสียงบอด ส่วนตำแหน่งการกดให้กดลงในช่องกลางระหว่างเฟร็ต หรือ ค่อนลงมานิดหน่อย แต่นิ้วยังไม่โดนเฟร็ต ถ้านิ้วโดนเฟร็ตขณะกดสายจะทำให้เสียงบอร์ด
คอร์ดพื้นฐาน   การหัดจับคอร์ดกีต้าร์ควรจะหัดจับคอร์ดที่ง่ายๆประมาณ2-3คอร์ดก่อนพอเริ่มจับได้2-3คอร์ดแล้วค่อยมาหัดจับคอร์ดอื่นๆต่อไป ลองหัดจับคอร์ดตามด้านล่างนี้ดูนะครับเป็น
คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดคืออะไร? เรามาทำความรู้จักกับคอร์ดกัน
      คอร์ดหมายถึงกลุ่มของเสียงตัวโน๊ตที่ประกอบกันขึ้นตั้งแต่สามเสียงขึ้นไป โดยแต่ละคอร์ดก็จะมีชื่อเรียกประจำตัวของมันเอง โดยจะมีหลักที่ใช้ในการสร้างคอร์ด และตั้งชื่อให้กับคอร์ดนั้นๆ เช่นคอร์ด C ก็จะประกอบไปด้วยโน๊ต C – E – G เป็นต้น (อ่านต่อด้านล่างในหัวข้อโครงสร้างของคอร์ด)
คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดหลักๆที่สามารถพบได้บ่อยๆ คอร์ด Major และ Minor
      โดยหลักๆแล้วเราสามารถแบ่งคอร์ดที่สำคัญ และพบได้บ่อยๆ ออกได้เป็นสองทางหลักๆก็คือ คอร์ดทางเมเจอร์(Major) และคอร์ดทางไมเนอร์(Minor) ( ไม่ใช่ว่าคอร์ดจะมีแค่เมเจอร์ และไมเนอร์เท่านั้นนะครับ ยังมีคอร์ดแบบอื่นอีกมาก เช่นคอร์ดเซเว่น(7) คอร์ดซัสโฟว์(sus4) คอร์ดออกเมนเต็ด(+) เป็นต้น แต่จะพูดถึงและยกตัวอย่างคอร์ดหลักๆที่พบได้บ่อยๆก่อน )

      คอร์ดทาง Major เช่นคอร์ด C, E, F, G ซึ่งจริงๆแล้วจะมีคำว่า “major” ต่อท้ายชื่อคอร์ดเอาไว้ เช่นคอร์ด C จะเขียนเละเรียกเต็มๆว่า “Cmajor” (ซีเมเจอร์) แต่เวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เขียนคำว่า “major” เอาไว้ ดังนั้นเวลาเจอคอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C หรือ Cmajor ให้จำไว้ว่ามันคือคอร์ดเดียวกัน แต่ส่วนมากจะเขียนและเรียกสั้นๆว่า คอร์ด C” เท่านั้น
การตั้งสายกีตาร์ (Guitar tuner)
      การตั้งสายกีต้าร์นั้นมีอยู่หลายวิธีแต่ส่วนมากแล้ววิธีที่นิยมใช้กันมากและง่ายคือการตั้งสายโดยการเทียบเสียงของแต่ละสาย การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องมีทักษะการฟังเสียงที่ดีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะฟังออกว่าเสียงนั้นตรงตามโน้ตหรือยัง สำหรับคนที่เริ่มเล่นในตอนแรกอาจจะยังฟังแล้วแยกเสียงไม่ออก ก็แนะนำใช้เครื่องตั้งสายมาช่วยตั้งไปก่อน และก็พยายามหัดตั้งสายด้วยตนเอง การตั้งสายนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานส่วนหนึ่งที่คนหัดเล่นกีต้าร์ควรจะรู้เป็นอย่างแรก
  การตั้งสายแบบมาตรฐาน ( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย 1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลืองในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด )
      การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก ) แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ( สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่ ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )
      การตั้งเสียงของสาย 2 โดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

      การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน    
  การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
      การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
      การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน