การฝึกเล่นกีตาร์พื้นฐาน (คลิป)
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การจับคอร์ดทาบ (Bar Chord)
การจับคอร์ดทาบนั้นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆแล้ว จะรู้สึกว่าจับยากมากทั้งเจ็บนิ้วไม่มีแรงกด เสียงบอด แต่การจับคอร์ดทาบนั้นมีเทคนิคอยู่นิดเดียว คือ การหักข้อมือลงด้านล่าง แล้วใช้นิ้วโป้งประคองตรงกลางหลังคอกีต้าร์ไว้ แทนการใช้นิ้วโป้งกำคอกีต้าร์แบบการจับคอร์ดธรรมดา แบบนี้จะเป็นการจับที่ถูกวิธี และช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้นทำให้เสียงไม่บอด ส่วนนิ้วที่ใช้กดสายก็พยายามให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับสายมากที่สุดไม่ให้ไปโดนสายอื่นเพราะจะทำให้เสียงบอดได้
ลักษณะพิเศษของ คอร์ดทาบ หรือ (Bar Chord)
ลักษณะพิเศษของคอร์ดทาบ ก็คือ คุณสามารถ
เลื่อนคอร์ดในลักษณะการจับที่ยังเหมือนเดิม ถอยหลังเข้าหาตัว หรือ
เลื่อนไปด้านหน้า แล้วคอร์ดจะเปลี่ยนไปเป็นอีกคอร์ดหนึ่งโดยที่รูปแบบการจับยังเหมือนเดิม
โดยมีหลักอยู่ว่า ถ้าเลื่อนถอยเข้าหาตัว 1 ช่อง
(เสียงสูงขึ้น) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( # )เช่นคุณจับคอร์ด
F แล้วเลื่อนเข้าหาตัว 1 ช่อง
คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น F# ถ้า 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด
G ในทางตรงกันข้าม ถ้าเลื่อนไปด้านหน้าออกห่างตัว 1 ช่อง (เสียงต่ำลง) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( b ) เช่นคุณจับคอร์ด B แล้วเลื่อนออกห่างตัว 1 ช่อง คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น Bb ถ้าเลื่อนไป 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด A สายเปิด
คือไม่ต้องใช้นิ้วชี้ทาบ เพราะตำแหน่งที่ต้องทาบเป็นสะพานรองสาย (Nut) พอดี ส่วนการเลื่อนคอร์ดว่าเลื่อนกี่ช่องแล้วจะเปลี่ยนเป็นคอร์ดอะไรจะใช้หลักของ
Major Scale คือ คอร์ด E กับ F และคอร์ด B กับ C ห่างกัน 1
ช่อง (ครึ่งเสียง) ส่วนคอร์ดอื่น A กับ B
, D กับ E , F กับ G ห่างกัน
2 ช่อง (หนึ่งเสียงเต็ม)
การจับปิคกีต้าร์
ปิคกีต้าร์นั้นมีหลายแบบหลายรูปทรง แต่ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปก็คือ
ปิคแบน (flat pick) ที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็จะมีอยู่ 2
ทรงคือ รูป 3 เหลี่ยม แล้วก็ รูปหยดน้ำ
มีให้เลือกตามขนาดความหนาของปิค ตั้งแต่ บาง , ปานกลาง และ
หนา ส่วนจะเลือกใช้ขนาดไหน ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน
ในการเล่นตีคอร์ดนั้นแนะนำให้ใช้ปิคแบบบาง
เพราะจะเกิดแรงต้านกับสายน้อยเล่นแล้วจะรู้สึกพริ้วไหวไม่สะดุด ส่วนการเล่น Solo
นั้นใช้ได้ทุกขนาดขึ้นอยู่กับความชอบความถนัดของแต่ละคน การจับปิคนั้นให้วางปิคลงด้านบนสันของปลายนิ้วชี้ นิ้วชี้อยู่ในลักษณะงอเข้าหาปลายนิ้วโป้ง แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับตัวปิค การจับไม่ได้จับจนแน่นมากให้จับพอกระชับไม่ให้หลุด ปลายปิคเลยออกมาจากนิ้วประมาณ 3-4 มิล ไม่สั้นหรือยาวออกมามากจนเกินไป ปิคต้องอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับสายหรือเกือบจะตั้งฉากกับสาย และเอียงตัวปิคประมาณ 45 องศา เพื่อลดแรงประทะกับสายในขณะดีด ทำให้ดีดได้คล่องและไม่รู้สึกติดขัด
3.
โครงสร้างของคอร์ด
ก่อนจะเข้าเรื่องโครงสร้างของคอร์ด เรามาทำความรู้จักกับ Major
Scal “เมเจอร์สเกล” กันก่อน
เมเจอร์ สเกล นั้นถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของสเกลอื่นๆ
ทุกสเกลจะสร้างขึ้นมาโดยยึดหลักพื้นฐานโครงสร้างมาจากเมเจอร์สเกลเสมอ ดังนั้น
เมเจอร์สเกลจึงถือเป็นแม่แบบของสเกลอื่นๆทั้งหมด รวมถึงการสร้างคอร์ดอีกด้วย
โครงสร้างของของเมเจอร์สเกลนั้นคือ
โน้ตตัวที่ [ 3 กับ 4 ] และ [ 7 กับ 8 ] จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(ดูโครงสร้างของเมเจอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โน้ตตัวที่ [ 3 กับ 4 ] และ [ 7 กับ 8 ] จะห่างกันแค่ครึ่งเสียง ส่วนโน้ตตัวอื่นจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(ดูโครงสร้างของเมเจอร์สเกลได้จากรูปด้านล่าง)
โครงสร้างของเมเจอร์สเกล
คอร์ดที่จับได้ไม่ยากมากเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเล่น
คอร์ดทาง Minor เช่นคอร์ด Am, Em,
Fm, Gm สังเกตว่าจะมีตัวเอ็มเล็ก “m” ต่อท้าย
ซึ่งก็แทนคำว่า “Minor” นั้นเอง เช่นคอร์ด Em ก็จะอ่านว่า “อีไมเนอร์”, คอร์ด
Am ก็จะอ่านว่า “เอไมเนอร์” ดังนี้เป็นต้น
Tip1: การที่จะสังเกตว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์นั้น
ให้ดูว่ามีตัว m (เอ็มเล็ก) ต่อจากชื่อคอร์ดหลักหรือไม่
ตัวอย่างเช่นคอร์ด Cm7,C#m7 มีก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางไมเนอร์,
คอร์ด C7,Csus4 ไม่มี m
(เอ็มเล็ก) ก็แสดงว่าเป็นคอร์ดทางเมเจอร์
รู้แล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ละ? ดู tip2 ต่อครับ
Tip2: การเล่นคอร์ดในเพลงจริงๆนั้น บางเพลงอาจจะมีคอร์ดที่จับอยาก
หรือเราไม่เคยจับมาก่อน ไม่รู้ว่าจะต้องจับคอร์ดนั้นยังไง เราก็จับคอร์ดหลักแทน
เช่น คอร์ด Cadd9 เราก็จับ คอร์ด C แทน,
คอร์ด Bm9 ก็จับคอร์ด Bm แทน (บางท่านอาจจะ งง ว่าทำไมคอร์ด Bm9
ถึงไม่จับคอร์ด B แทนละ ทำไมถึงเป็น Bm ก็เพราะว่าคอร์ด Bm9
เป็นคอร์ดทางไมเนอร์นั้นเอง(สังเกตโดย tip1ที่ผ่านมา) การจะใช้คอร์ดหลักแทนนั้นต้องใช้ให้ถูกต้องนะครับ
ต้องรู้ว่าคอร์ดที่เราจะจับแทนนั้นเป็นคอร์ดทางเมเจอร์ หรือไมเนอร์
เพราะว่าอารมณ์ของเสียงเมเจอร์กับไมเนอร์นั้นแตกต่างกันมากเลยทีเดียว)
ปล. Tip2
นี้แนะนำให้ใช้กับคนที่กำลังหัดเล่นหรือว่ายังจับคอร์ดที่ยากๆแปลกๆไม่ได้เท่านั้น
ทางที่ดีควรจะจับให้ถูกต้องตามคอร์ดของเพลง
จะได้เข้าถึงอารมณ์ของเพลงตามที่ผู้แต่งได้ถ่ายทอดไว้ในบทเพลงนั้นๆ
และบางคอร์ดนั้นก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ไม่สามารถที่จะแทนได้ด้วยคอร์ดหลัก.
การจับคอร์ดกีตาร์
การจับคอร์ดนั้นให้นั่งในท่าที่ถนัด
ใช้มือกำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ ถ้าเป็นการจับคอร์ดที่ไม่ใช้คอร์ดทาบ
จะใช้นิ้วโป้งประคอง ด้านหลังคอกีต้าร์เพื่อให้กระชับมั่นคงและช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้น
การจับสายนั้นจะต้องโก่งนิ้วที่จับสายอยู่
พยายามให้ปลายนิ้วที่กดสายตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ด มากที่สุด
เพราะถ้านิ้วราบไปกับคอกีต้าร์จะทำให้โดนสายอื่นทำให้เสียงบอด ส่วนตำแหน่งการกดให้กดลงในช่องกลางระหว่างเฟร็ต
หรือ ค่อนลงมานิดหน่อย แต่นิ้วยังไม่โดนเฟร็ต
ถ้านิ้วโดนเฟร็ตขณะกดสายจะทำให้เสียงบอร์ด
คอร์ดพื้นฐาน การหัดจับคอร์ดกีต้าร์ควรจะหัดจับคอร์ดที่ง่ายๆประมาณ2-3คอร์ดก่อนพอเริ่มจับได้2-3คอร์ดแล้วค่อยมาหัดจับคอร์ดอื่นๆต่อไป
ลองหัดจับคอร์ดตามด้านล่างนี้ดูนะครับเป็น
คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดคืออะไร? เรามาทำความรู้จักกับคอร์ดกัน
คอร์ดหมายถึงกลุ่มของเสียงตัวโน๊ตที่ประกอบกันขึ้นตั้งแต่สามเสียงขึ้นไป
โดยแต่ละคอร์ดก็จะมีชื่อเรียกประจำตัวของมันเอง โดยจะมีหลักที่ใช้ในการสร้างคอร์ด
และตั้งชื่อให้กับคอร์ดนั้นๆ เช่นคอร์ด C ก็จะประกอบไปด้วยโน๊ต
C – E – G เป็นต้น
(อ่านต่อด้านล่างในหัวข้อโครงสร้างของคอร์ด)
คอร์ดกีต้าร์ คอร์ดหลักๆที่สามารถพบได้บ่อยๆ
คอร์ด Major และ Minor
โดยหลักๆแล้วเราสามารถแบ่งคอร์ดที่สำคัญ และพบได้บ่อยๆ
ออกได้เป็นสองทางหลักๆก็คือ คอร์ดทางเมเจอร์(Major) และคอร์ดทางไมเนอร์(Minor)
( ไม่ใช่ว่าคอร์ดจะมีแค่เมเจอร์ และไมเนอร์เท่านั้นนะครับ
ยังมีคอร์ดแบบอื่นอีกมาก เช่นคอร์ดเซเว่น(7) คอร์ดซัสโฟว์(sus4) คอร์ดออกเมนเต็ด(+) เป็นต้น แต่จะพูดถึงและยกตัวอย่างคอร์ดหลักๆที่พบได้บ่อยๆก่อน
)
คอร์ดทาง Major เช่นคอร์ด C, E, F, G ซึ่งจริงๆแล้วจะมีคำว่า “major” ต่อท้ายชื่อคอร์ดเอาไว้
เช่นคอร์ด C จะเขียนเละเรียกเต็มๆว่า “Cmajor” (ซีเมเจอร์) แต่เวลาเขียนชื่อคอร์ดส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เขียนคำว่า “major”
เอาไว้ ดังนั้นเวลาเจอคอร์ด ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C หรือ Cmajor ให้จำไว้ว่ามันคือคอร์ดเดียวกัน
แต่ส่วนมากจะเขียนและเรียกสั้นๆว่า “คอร์ด C” เท่านั้น
การตั้งสายกีตาร์ (Guitar tuner)
การตั้งสายกีต้าร์นั้นมีอยู่หลายวิธีแต่ส่วนมากแล้ววิธีที่นิยมใช้กันมากและง่ายคือการตั้งสายโดยการเทียบเสียงของแต่ละสาย
การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องมีทักษะการฟังเสียงที่ดีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะฟังออกว่าเสียงนั้นตรงตามโน้ตหรือยัง
สำหรับคนที่เริ่มเล่นในตอนแรกอาจจะยังฟังแล้วแยกเสียงไม่ออก
ก็แนะนำใช้เครื่องตั้งสายมาช่วยตั้งไปก่อน และก็พยายามหัดตั้งสายด้วยตนเอง
การตั้งสายนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานส่วนหนึ่งที่คนหัดเล่นกีต้าร์ควรจะรู้เป็นอย่างแรก
การตั้งสายแบบมาตรฐาน
( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย
1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลืองในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด
)
การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต
E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก )
แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร
ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป (
สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่
ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย
เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )การตั้งเสียงของสาย 2 โดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
4. หัดจับคอร์ดง่ายๆ ซัก
3 – 4 คอร์ด ที่พอจะเล่นเป็นเพลง
เพราะถ้าคอร์ดที่ฝึกจับอยู่มันเล่นรวมกันไม่เป็นเพลงเมื่อฝึกไปนานๆ จะรู้สึกเบื่อ
แต่ถ้าคอร์ดที่หัดจับอยู่สามารถเล่นเป็นเพลงได้
จะทำให้คุณมีกำลังใจในการฝึกต่อไปครับ
เมื่อจับคอร์ดได้ซักสามสี่คอร์ดจนคล่องแล้วก็หัดจับคอร์ดอื่นต่อ
หรือหาเพลงที่คุณชอบคอร์ดจ่ายๆมาหัดเล่น หัดจับคอร์ดครั้งแรกๆ
เพลงที่ผมแนะนำก็มีเพลง Zombie มีคอร์ด Em - C - G -
D หัดจับคอร์ด ตีคอร์ด เปลี่ยนคอร์ด วนไปเรื่อยๆจนคล่อง
จังหวะที่ใช้หัดตีคอร์ดของเพลงZombieก็คือ จับคอร์ดแล้วดีดลง
8 ครั้ง แล้วก็เปลี่ยนคอร์ด วนไปแบบนี้จนครบทุกคอร์ด และจึงหัดคอร์ดอื่นหรือเพลงอื่นๆต่อไป
การหัดเล่นแรกๆยังไม่ต้องกังวลเรื่องจังหวะมาก
หัดจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดให้คล่องก่อน ดีด ลงๆๆๆๆๆๆๆ ไปก่อน
เรื่องจังหวะการตีคอร์ดค่อยมาฝึกทีหลัง เพราะถ้ากังวลเรื่องจังหวะจะทำให้การจับคอร์ดเปลี่ยนคอร์ดยากขึ้นไปอีกมาก
หัดเล่นครั้งแรกจะเล่นให้เพราะเหมือนต้นฉบับนั้นคงจะเป็นไปไม่ได้
การเริ่มต้นต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป พื้นฐานนั้นถือว่าสำคัญที่สุดในการต่อยอดต่อไป
5 . หัดเรื่องจังหวะการตีคอร์ด จังหวะการตีคอร์ดของแต่ละเพลงจะไม่เหมือนกัน แต่ลักษณะของการตีคอร์ดโดยมากนั้นจะเป็นการดีดขึ้นลงที่สม่ำเสมอ แต่จังหวะที่ดีดขึ้นหรือลง โดนสายหรือไม่โดนสาย ดีดปล่อย Muteสาย หรือเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย ตรงนี้แหละที่เป็นจังหวะเฉพาะของแต่ละเพลง คุณต้องฟังเพลงบ่อยๆ แล้วฟังให้ออกว่าจังหวะการตีคอร์ดเป็นยังไง พูดเหมือนง่ายแต่ต้องใช้เวลาและทักษะในการฟังพอควรถึงจะฟังจังหวะดนตรีออก เทคนิคสำคัญคือต้องฟังเพลงบ่อยๆ พยายามฟังแล้วแยกฟังเสียงดนตรี กีต้าร์ เสียงเบส เสียงกลอง คีย์บอร์ด เมื่อสามารถแยกฟังเสียงเครื่องดนตรีต่างๆได้แสดงว่าคุณมีทักษะในฟังมากขึ้น ทักษะการฟังแบบนี้แหละที่เขาใช้ในการแกะเพลง ไม่ว่าจะเป็นจังหวะการตีคอร์ดหรือท่อน Solo ก็ตาม
6. เมื่อพอจับคอร์ด ตีคอร์ด เปลี่ยนคอร์ดได้คล่องพอเล่นเป็นเพลงได้นิดหน่อยแล้ว ค่อยไปฝึกเทคนิคต่างๆต่อไป ตัวอย่างเช่น การดันสาย การสไลด์สาย การเกากีต้าร์ การเล่นPower Chord การไล่สเกล และ เทคนิคลูกเล่นต่างๆอีกมากมายต่อไป
5 . หัดเรื่องจังหวะการตีคอร์ด จังหวะการตีคอร์ดของแต่ละเพลงจะไม่เหมือนกัน แต่ลักษณะของการตีคอร์ดโดยมากนั้นจะเป็นการดีดขึ้นลงที่สม่ำเสมอ แต่จังหวะที่ดีดขึ้นหรือลง โดนสายหรือไม่โดนสาย ดีดปล่อย Muteสาย หรือเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย ตรงนี้แหละที่เป็นจังหวะเฉพาะของแต่ละเพลง คุณต้องฟังเพลงบ่อยๆ แล้วฟังให้ออกว่าจังหวะการตีคอร์ดเป็นยังไง พูดเหมือนง่ายแต่ต้องใช้เวลาและทักษะในการฟังพอควรถึงจะฟังจังหวะดนตรีออก เทคนิคสำคัญคือต้องฟังเพลงบ่อยๆ พยายามฟังแล้วแยกฟังเสียงดนตรี กีต้าร์ เสียงเบส เสียงกลอง คีย์บอร์ด เมื่อสามารถแยกฟังเสียงเครื่องดนตรีต่างๆได้แสดงว่าคุณมีทักษะในฟังมากขึ้น ทักษะการฟังแบบนี้แหละที่เขาใช้ในการแกะเพลง ไม่ว่าจะเป็นจังหวะการตีคอร์ดหรือท่อน Solo ก็ตาม
6. เมื่อพอจับคอร์ด ตีคอร์ด เปลี่ยนคอร์ดได้คล่องพอเล่นเป็นเพลงได้นิดหน่อยแล้ว ค่อยไปฝึกเทคนิคต่างๆต่อไป ตัวอย่างเช่น การดันสาย การสไลด์สาย การเกากีต้าร์ การเล่นPower Chord การไล่สเกล และ เทคนิคลูกเล่นต่างๆอีกมากมายต่อไป
สอนกีต้าร์ แนวทางในการหัดเล่นกีตาร์
1. ต้องมีใจรักอยากที่จะเล่นกีต้าร์
มีความมุ่งมั่นในการฝึก มีศิลปินและแนวดนตรีที่ชอบ
เพื่อเป็นแรงผลักดันและกำลังใจในการฝึก ถ้าเกิดท้อแท้ ขี้เกียจ หรือเบื่อ
เมื่อฝึกเล่นกีต้าร์ไปนานๆก็ให้หยุดเล่นไปสักพักหนึ่ง ไปหาอะไรทำหาอะไรดูก็ได้
หรือหาอะไรกิน(ถ้าหิว) เมื่อผ่อนคลายแล้วก็หาเพลงที่เราชอบเพลงที่อยากจะเล่นมาฟัง
ตรงนี้แหละที่จะเป็นแรงกระตุ้นขับดันให้เราอยากที่จะเล่นกีต้าร์จนต้องหยิบมันขึ้นมาซ้อมอีกครั้ง2. ต้องมีกีตาร์เป็นของตัวเองซะก่อน ถ้าไม่มีกีต้าร์เป็นของตัวเองการฝึกซ้อมก็ทำได้ยาก ทำให้การฝึก ไม่ค่อยต่อเนื่อง การมีกีต้าร์เป็นของตัวเองจะดีที่สุด กีต้าร์ที่แนะนำสำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นราคาประมาณ 2500 – 3000 กว่าๆ ก็พอ คุณภาพก็พอใช้ได้เหมาะสำหรับการเริ่มต้น หรือถ้ามีงบเยอะจะซื้อแบบแพงๆมียี้ห้อดีๆไปเลยก็ได้
6. กีตาร์ steel หรือ pedal steel guitar
หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับเจ้ากีตาร์แบบนี้เท่าไรนัก ผมเพิ่งได้จริง ๆ
ก็ตอนดู v.d.o. คอนเสิร์ทของ The Eagles ซึ่งมีการใช้เจ้ากีตาร์ประเภทนี้อยู่ด้วยในบางเพลงเล่นโดย don
felder ถ้าสนใจรายละเอียดของ กีตาร์ steel เชิญคลิ๊กไปดูได้ครับส่วนใหญ่กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลง
country และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่นด้วยสไลด์
ดูจากรูปครับ
7. กีตาร์แบบอื่น ๆ นอกจากกีตาร์ประเภทต่าง
ๆ ที่กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีกีตาร์แบบพิเศษอื่น ๆ
ซึ่งอาจจะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะประเภท หรือเล่นเป็นพิเศษกับเพลงนี้โดยเฉพาะ
เราจะไม่ค่อยเห็นมากนักเช่นกีตาร์ที่มีจำนวนสายแปลก ๆ มีรูปร่างแปลก ๆ เช่นกีตาร์ 7
สาย กีตาร์ Harmony Sovereigh แบบ 9 สาย กีตาร์ที่ใช้สายของกีตาร์เบสประกอบด้วย กีตาร์ 2 คอ กีตาร์ 2 คอรูปตัว V หรือ 4
คอ รูปตัว X เป็นต้น
นอกจากนี้ pick
up ที่ใช้ยังมีทั้งแบบ single coil และแบบ double
coil (humbacking) ซึ่งต่างลักษณะของการพันขดลวดรอบแกนแม่เหล็กและทำให้เสียงที่ได้ออกมานั้นต่างกันอีกด้วย
การติดตั้ง pick up ไว้ในตำแหน่งที่ต่างกันก็จะให้เสียงที่ต่างกันด้วยเช่นกัน
เช่น การติด pick up ติดกับปลายสุดของฟิงเกอร์บอร์ดจะให้เสียงที่ทุ้ม
หรือ pick up ที่ติดกับสะพานสาย (bridge) จะให้เสียงที่แหลมกว่าใช้ในการ solo เป็นต้น
และอุปกรณ์พิเศษอีกอย่างที่สามารถทำให้เสียงกีตาร์แปลกออกไปก็คือคันโยก (tremolo
bar) ได้แก่ชุดก้านยาว ๆ
ที่ติดอยู่กับสะพานสายนั่นเองใช้กดขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนความตึงของสายกีตาร์ทำให้ระดับเสียงที่ออกมานั้นแตกต่างไปจากปกติ
สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากในวงการดนตรี pop rock เพราะมีเสียงหนักแน่นเล่นได้ทั้งแบบ rhythm หรือการ solo
(หรือเล่น lead กีตาร์)
โชว์สำเนียงของกีตาร์และสไตล์ของแต่ละคนซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นมาก
5. Resonator กีตาร์ หรือ Resophonic กีตาร์
เป็นกีตาร์อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า dobro มีลักษณะเด่นคืออาศัย
resonatorซึ่งจะทำให้เกิดเสียง resonance หรือขยายเสียงให้ดังโดยทำให้เกิด
resonance มีทั้งแบบ tri-plate resonator คือมีเจ้า
resonator 3 แผ่น และแบบ single-resonator คือมี resonator แผ่นเดียวนั่นเอง
โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะ ถ้าสนใจรายละเอียดมากว่านี้ไปดูที่ประวัติความเป็นมาของมันก็คลิ๊กเลยครับ
สำหรับกีตาร์ประเภทนี้มักจะเล่นกับเพลงบลูส์ที่ใช้สไลด์เช่นพวกเดลต้าบลูส์
หรือประเภทบลูกลาส ( bluegrass ) โดยใช้สไลด์กีตาร์
หรือเล่นกับเพลงแบบฮาวาย
เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า
แต่ไม่ใช่กีตาร์โปร่งไฟฟ้านะครับ
กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up (ที่เราเรียกกันว่าคอนแทคนั่นแหละครับ)
ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยายได้โดยตรง
ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก
แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick
up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่องขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า
ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก
|
4. Solid
Body Electric กีตาร์ ซึ่งก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ
ท่าน ๆ
รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็นแบบตัน
และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2
หรือ 3 ชุด
ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยายอีกที
กีตาร์ประเภทนี้ต้องมีเครื่องขยาย(แอมป์นั่นแหละครับ)มิฉะนั้นเวลาเล่นต้องเอาหูไปแนบใกล้
ๆ ตัวกีตาร์ถึงจะได้ยินเสียง
แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงของมันได้อย่างอิสระด้วยการ control
ปุ่ม volume หรือ tone และยังใช้ร่วมกับ
effect ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตมามากมายหลายแบบเหลือเกิน
เช่น distortion ,overdrive, flanger เป็นต้น
ทำให้สามารถปรับแต่งสำเนียงกีตาร์ตามที่เราต้องการได้
กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์
หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์,
jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์
นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด)
ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว
ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น (และยังมีกีตาร์เบสโปร่งซึ่งมี 4
สายที่อยู่รูปล่างซ้ายสุด 2 ตัว
ใช้เล่นเบสแต่ผมไม่ค่อยเห็นคนเล่นเท่าไรครับสำหรับเบสโปร่งประเภทนี้)
อ้อมีอีกแบบหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกีตาร์คลาสสิก
แต่ใช้สายโลหะซึ่งเป็นกีตาร์ฝึกราคาค่อนข้างถูกเหมาะสำหรับผู้ที่อยากเล่นกีตาร์แต่ไม่แน่ใจว่าจะเอาจริงหรือเปล่าก็ลองซื้อมาหัดเล่นดูว่าไหวไหม
2. Arch top กีตาร์ เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป
จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง)
ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f
(แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมพ์นะครับ)
อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว
ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส
ประเภทของกีตาร์
ตามที่เรา ๆ ท่าน ๆ นั้น
จะรู้กันอยู่แล้วว่ากีตาร์นั่นก็มีอยู่สองแบบคือ กีตาร์โปร่ง กับกีตาร์ไฟฟ้า
แต่ว่าเราลองมารู้จักกีตาร์ในแต่ละประเภทกันให้มากกว่านี้ดีกว่า
1. กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง
ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น
ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย
สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.1
กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก
มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ
และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส)
จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์
ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ
จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco)
ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง
จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง
และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย
ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง
ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น
แต่ก็ไม่ง่ายนักนะครับกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า
นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรี
1.2 กีตาร์โฟล์ค
ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง
ๆ ก็มีนะครับ) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก
ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ
กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ
คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ
แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก
ใช้สายที่ทำจากโลหะ
เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค
(flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน
สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป
ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
หลังจากนั้นในต้นปี 1940
นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนียอีกคนซึ่งเราก็รู้จักชื่อเขาในนามของยี่ห้อกีตาร์ที่สุดยอดอีกยี่ห้อหนึ่งนั่นก็คือ
Leo Fender เขาได้ประดิษฐ์กีตาร์และเครื่องขยายเสียงในร้านซ่อมวิทยุของเขา
เขาได้สร้างเครื่องขยายเสียงแต่ขณะนั้นไม่มีปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน
และใช้กับกีตาร์ของเขาซึ่งมีปุ่มควบคุมเสียงดังเบาและทุ้มแหลมซึ่งเป็นต้นแบบกีตาร์ไฟฟ้ายุคใหม่
เขาไม่ได้หยุดแค่นั้นด้วยเทคโนโลยีขณะนั้นเขารู้ว่าเขาน่าจะดัดแปลงกีตาร์โปร่งให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้และความพยายามเขาก็สำเร็จจนได้ในปี
1948 และได้กีตาร์ที่ชื่อว่า Telecaster (คงคุ้นหูกันนะครับ)
ซึ่งชื่อเดิมที่เขาใช้เรียกคือ Broadcaster แต่คำว่า tele
เป็นที่ติดปากกันมากกว่าและถือว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าทรงตันในรูปทรงสแปนนิสรุ่นแรกที่ซื้อขายกันในเชิงพานิชย์และได้รับความนิยมอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบัน
แม้ว่ากีตาร์จะถูกสร้างมาหลายรูปแบบแต่แบบที่ถือว่าดีที่สุดคงเป็นแบบ
สแปนนิช 6 สาย
ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ดีอย่างมากทั้งด้านการประดิษฐ์และด้านเทคนิค ซึ่งสามารถใช้เล่นในงานแสดงคอนเสิร์ต(หมายถึงดนตรีคลาสสิก)
หรือเล่นเพลงทั่ว ๆ ไปทำให้รูปทรงกีตาร์แบบนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน เริ่มจากในศตวรรษที่
18 ได้มีการเปลี่ยนจากสายที่เป็นสายคู่มาเป็นสายเดี่ยวและเปลี่ยนจาก
5 สายเป็น 6 สาย
ช่างทำกีตาร์ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ขยายขนาดของ body เพิ่มส่วนโค้งของสะโพกลดส่วนผิวหน้าที่นูนออกมา
และเปลี่ยนแปลงโครงยึดภายใน ลูกบิดไม้แบบเก่าถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ในยุคเดียวกันนี้
Fernando Sor ซึ่งได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วเป็นผูที่พัฒนาและทำให้เครื่องดนตรีนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ในการแสดงได้จนกระทั่งมาถึงยุคของ
Andres Segovia ได้คิดดัดแปลงให้สามารถใช้กับไฟฟ้าได้
ซึ่งเป็นความพัฒนาอีกระดับของเพลงป๊อปในอเมริกาในช่วง 1930 กีตาร์ไฟฟ้าต้นแบบช่วงนั้นเป็นแบบทรงตันและหลักการนำเสียงจากกีตาร์ไปผสมกับกระแสไฟฟ้าแล้วขยายเสียงออกมานั้นทำให้นักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันซึ่งชื่อเขาพวกเรารู้จักกันดีในนามของโมเดลหนึ่งของกิ๊บสันนั่นก็คือ
Les Paul ได้พัฒนาจากต้นแบบดังกล่าว มาเป็นแบบ solid body กีตาร์
หรือกีตาร์ไฟฟ้าที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นแหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของดนตรียุคนั้นและทำให้กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี
1940
อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ
Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น
(แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยนะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออร์เคสตร้า
จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย
อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้
นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ
ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักกีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน
concert hall มากขึ้น
และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย
สำหรับการร้องไปพร้อมกับกีตาร์ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อสามารถปรับให้ระดับเสียงของกีตาร์นั้นเข้ากับเสียงร้องได้
ซึ่งผมเข้าใจว่าในอดีตกีตาร์มีไว้บรรเลงมากกว่าแต่เมื่อสามารถผสมผสานเสียงของกีตาร์กับเสียงร้องได้การร้องคลอไปกับกีตาร์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น
นักร้องนักกีตาร์(คือทั้งเล่นทั้งร้อง)
น่าจะมาจากนักร้องในยุคกลางซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้ปลีกตัวไปทำงานในแบบที่เป็นอิสระและอยากจะทำจึงมีการผสมกันกับรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านมากขึ้น
ซึ่งงานดนตรีจึงแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เป็นงานประพันธ์เพื่อจรรโลงโลกหรือมีความจริงจังในทางดนตรีเพื่อการแสดงเป็นส่วนใหญ่
ก็คือเพลงคลาสสิกนั่นเอง
2. งานที่สร้างจากคนพื้นบ้านจากการถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูกลูกสู่หลาน
เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพความเป็นอยู่ แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิต
ใช้ในการผ่อนคลายจากการงานความทุกข์ความยากจน เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ
อันได้มาจากประสบการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ
ตัวขณะนั้นจึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก
และโดยที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาจากอดีตถึงปัจจุบันจนมีการซึมซับเข้าไปยังเนื้อเพลงและทำนองเพลงทำให้เกิดรูปแบบของดนตรีในแบบใหม่
ๆมากขึ้นเรื่อยๆ
ในอเมริกา ผู้ที่เข้าไปอาศัยได้นำเอาดนตรีและการเต้นรำของพวกเขาเข้ามาด้วยเช่นพวกทหาร นักสำรวจ พวกเคาบอยหรือคนงานเหมืองทำให้มีการผสมผสานกันในรูปแบบของดนตรีและที่สำคัญที่สุดคือพวก อเมริกัน นิโกร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะทาสซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงบลูส์นั่นเองซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึงความยากลำบาก ความยากจนถ่ายทอดมาในบทเพลงสไตล์ของพวกเขาเพื่อได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยยากและเล่นง่าย ๆ ด้วยกีตาร์กับเม้าท์ออร์แกนเป็นต้น ซึ่งเพลงบลูส์นั่นเองที่เป็นพื้นฐาน
กีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว
ๆ
ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว
ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ
Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง
ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก
จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังรัสเซีย
รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก
ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus
I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839
หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น
ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก
หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ
Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง
ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia,
Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี
3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ
รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน
ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง
หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome
เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง
ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
อีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง
ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia,
Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี
3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ
รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน
ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง
หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome
เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง
ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยนะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเกสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักกีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย
กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของ
อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยนะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเกสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักกีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย
กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของ
ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839หลังจากนั้นได้มีการเรียนการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)